top of page

"คงเงิน" หรือ "ลาออก" จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี หลังออกจากงาน?

หากหลานๆประสบพบเจอกับ HR ที่ดี เค้าก็จะเล่าถึงความแตกต่างระหว่างการ "คงเงินกองทุน" และ "การลาออกกองทุน"ให้ฟัง





เอาล่ะ ถ้าใครยังไม่เคยได้ฟัง วันนี้ลุงจะมาเล่าให้ฟังง่ายๆจะได้ตัดสินใจได้ดีขึ้น!


หากหลานคนไหนยังไม่รู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพศึกษาได้ที่ https://bit.ly/2X4BEg8 เลยจ้ะ


เรามาดูความแตกต่างกัน


1. ลาออกจากกองทุน

หลานหลายคนอาจจะเลือก option นี้เพราะมันง่าย แถมได้เงินมาใช้ด้วย แต่ๆๆ ข้อเสียคือ เงินก้อนนี้ต้องเอามาเสียภาษีนะจ๊ะ!! ใช่แล้ว คำที่แสนจะบาดใจบาดกระเป๋า ~ หลานจะต้องนำเงินที่ได้จากกองทุนมารวมเป็นรายได้ในปีนั้น และต้องจ่ายภาษีเพิ่ม รวมถึงเงินก้อนในยามเกษียณที่ควรจะมี ก็จะลดลงด้วย!!


2. เลือกคงเงินไว้และค่อยถอนตอนอายุ เกษียณ 55 ปีขึ้นไป

ซึ่งแน่นอนว่า ทำแบบนี้ไม่ต้องเอาเงินก้อนนี้มาเสียภาษีจ้า (แต่มีข้อแม้ว่าหลานต้องส่งเงินติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไปนะ อย่าง หลานอายุ 53 แต่มาส่งถึง 55 ปี ก็ไม่เข้าเงื่อนไขนะจ๊ะ)

นั้นแปลว่าหลานๆจะต้องโอนกองทุนไปยังบริษัทฯ ใหม่ ตลอดช่วงอายุการทำงาน จนถึงเกษียณนั้นเอง~


ฟังดูยาวนาน แต่ลุงจะบอกว่าคุ้มค่านะ คิดดูสิ เงินก้อนที่เราต้องเสียภาษีอาจเป็นจำนวนเงินที่มากเป็นหลักแสน หรือหลักล้านได้เลยนะ ขึ้นอยู่กับเงินที่ส่งรายเดือน เงินสมทบที่นายจ้างเขาให้ และแผนการลงทุนที่หลานๆเลือก (ว่าได้กำไรเยอะแค่ไหนหนะ) ลุงแนะนำว่าถ้าไม่มีความจำเป็นในการใช้เงินก้อน แนะนำให้เลือกทางนี้ดีกว่านะ


*ตอนต่อไปลุงจะมาแนะนำวิธีการดูกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทฯ และข้อมูลที่จำเป็นต้องมีก่อนที่จะย้ายกองทุนไปยังที่ทำงานใหม่ของหลานๆ นะจ้ะ

Commentaires


bottom of page