top of page

เงินเดือนคือสิ่งสำคัญที่สุดในการจูงใจพนักงาน จริงหรือ?

สวัสดียามเช้าวันจันทร์อันสดใสนะจ้ะ ช่วงนี้ลุงก็อาจจะขอสาระวนกับความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับความผูกพันระหว่างหลานๆ กับบริษัทฯ เยอะหน่อยนะจ้ะ อย่าเพิ่งเบื่อกันไปไหน


เชื่อว่าหลานๆ หลายคนเวลาอยากที่จะย้ายบริษัทฯ ก็คงกำลังมองหา โอกาสการเติบโต หน้าที่การเงิน ได้เงินเดือนที่มากขึ้น ซึ่งหลายๆบริษัทฯ ก็ใช้ตัวเงินเดือนนี้เป็นสิ่งดึงดูดในการที่จะให้หลานๆ เข้ามาสมัครงานกับที่บริษัทฯ


แท้จริงแล้วนั้น "เงินเดือน"เพียงอย่างเดียว จะเป็นปัจจัยสำคัญในการจูงใจให้พนักงานทำงานได้อย่างตั้งใจ และทุ่มเทจริงหรือ?


โดยเมื่ออดีตนมนานกาเลนั้นได้เคยมีคนคิดทฤษฎีที่ชื่อว่า 2-Factor Theory โดยคุณ Frederick Herzberg เพื่ออธิบายเรื่องแรงจูงใจ และความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ออกเป็น 2 ปัจจัยคือ

  • ปัจจัยค้ำจุน เช่น เงินเดือน ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน ความมั่นคง ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถือว่าเป็นแรงจูงใจหลักของพนักงาน เป็นเพียงปัจจัยที่ต้องมีให้อย่างเพียงพอ "เพื่อให้ประคองไม่ให้พนักงานรู้สึกเกิดความไม่พึงพอใจขึ้น"

  • ปัจจัยแรงจูงใจ เช่น งานที่มีความหมาย โอกาสในเติบโตในหน้าที่การงาน การเป็นที่ยอมรับ ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่จูงใจให้พนักงาน"เกิดความพึงพอใจในงาน" ส่งผลทำให้พนักงานทำงานอย่างตั้งใจมากขึ้น

กล่าวโดยสรุป ปัจจัยค้ำจุน เช่น เงินเดือน ไม่ว่าเราจะให้พนักงานมากขนาดไหน ไม่ได้เป็นแรงจูงใจหลักในการที่จะให้พนักงานทำงานอย่างตั้งใจมากขึ้น หรือหากจะเกิดแรงจูงใจก็จะเป็นแค่ชั่วครู่เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่บริษัทฯ จะต้องจ่ายให้กับพนักงานอย่างเหมาะสมเพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างราบรื่น โดยอีกปัจจัยที่สำคัญคือ ปัจจัยแรงจูงใจนั้น การที่พนักงานได้รับงานที่มีความหมาย เป็นที่ยอมรับ จะส่งผลทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่


เป็นอย่างไรกันบางจ้ะหลานๆ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่หลานๆ หรืออยากจะแชร์ประสบการณ์ ถกเถียงกันก็ได้นะจ้ะว่า เงินก็อาจจะเป็นปัจจัยหลักเพื่อจูงใจให้หลานๆทำงานอย่างตั้งก็เป็นได้นะจ้ะ เพราะทฤษฎีนี้ก็สามารถหักล้าง หรือเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย ส่วนใครต้องการอ่านบทความอื่นๆ สามารถเข้าดูได้ตามลิ้งเลยนะจ้ะ https://unclehrth.wixsite.com/my-site หากหลานๆมีข้อแนะนำติชมลุงยินดีรับไว้เพื่อการปรับปรุงนะจ้ะสวัสดีจ้ะ




 
 
 

Comments


bottom of page